เวลาจะเรียนเรื่องใหม่ๆ เราจะหลงทางไม่รู้เริ่มจากตรงไหน ไม่เหมือนเรื่องที่รู้ดีอยู่แล้วที่เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ส่งผลให้ล้มเลิกที่จะเรียนเรื่องใหม่ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย การเรียรเรื่องใหม่ๆ เป็นหนทางสู้ความรู้ที่บางครั้ง อาจจะเปลี่ยนเราไปตลอดกาลก็ได้ ดั้งนั้น การเรียนจะต้องมีเทคนิคแบบแผนที่จะทำให้เราเข้าใจ อย่างเช่นเทคนิดที่จะนำเสนอในบทความนี้
The Feynman Technique
มาจากชื่อนักวิทยาศาสตร์เจ้าข้องรางวัลโนเบลสาขาฟิลิกส์ Richard Feynman ทว่าเขาเป็นที่รู้จักในด้านการอธิบายเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายได้อย่างน่าอัศจรรย์ Feynman ได้พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเรื่องที่เรียนได้อย่างลึกซึ้ง ด้วยขั้นตอนง่ายๆ 4 ขั้นตอน
1. เริ่มเรียน
ขั้นตอนที่ง่ายที่สุด เลือกหัวข้อมาสักเรื่องแล้วเริ่มศึกษาอย่ารีรอ เป็นขั้นตอนปกติเวลาจะศึกษาเรียนเรื่องใหม่ แล้วให้เขียนเรื่องที่เรียนลงไปในกระดาษ และใช้ภาพประกอบได้
เมื่อเราคิดว่าเรารู้และเข้าใจมากพอแล้วก็ถึงเวลาที่จะไปข้อถัดไป
2. สอนคนอื่นหรือตัวเอง
เอาเรื่องที่รู้มาไปสอนตัวเองหรือคนอื่นให้เข้าใจโดยใช้คำศัพท์ที่ง่ายที่สุดเหมือนกับว่ากำลังสอนเด็กประถม คนที่รู้จริงจะสามารถแปลงคำศัพท์ๆ ยากๆ ให้เข้าใจง่ายๆ ได้ ข้อนี้สำคัญมากสำหรับการทำข้อถัดไป
3. ปรับปรุง
ในข้อที่สองจะได้เจอส่วนที่อธิบายไม่ได้หรืออธิบายไม่ถูก ตรงนั้นแหละคือจุดที่เข้าใจไม่ถ่องแท้ ให้ไปศึกษาตรงนั้นใหม่โดยโฟกัสตรงนั้น
4. ทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
หลังจากศึกษาเพิ่มในส่วนที่ไม่เข้าใจแล้วในข้อ 3 ก็ถึงเวลาเอากลับมาอธิบายใหม่ให้เข้าใจง่ายขึ้นกว่าเดิม
ขั้นตอนการเรียนรู้ 4 ข้อนี้จะทำซ้ำไปซ้ำมาเรื่อยๆ จนสามารถอธิบายทุกอย่างออกมาเป็นข้อมูลง่ายๆ ได้
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเล่าออกมาให้เข้าใจง่ายนี่แหละ อธิบายยากๆ ไปก็เข้าใจยากทั้งคนอื่นและตัวเอง ถ้าเราทำให้มันง่ายขึ้นได้ ตัวเราเองก็จะได้ประโยชน์ในการจดจำเหมือนกัน